พลังของป้ายประท้วงกับศิลปะความเห็นต่างที่ซ่อนอยู่

by Ar Lhao

“ศิลปะมักผูกอยู่กับเรื่องราวในสังคม วิถีชีวิต ศาสนา เศรษฐกิจ หรือแม้แต่การเมือง มุมหนึ่งของศิลปะทำหน้าที่ให้ผู้คนจรรโลงจิตใจ แต่อีกมุมหนึ่งก็สะท้อนภาพความจริงบางอย่างในสังคม”

ในยุคแรกๆ ศิลปะคือสิ่งที่ช่วยบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็มีศิลปินมากมายที่รังสรรค์ผลงานที่เป็นภาพสะท้อนของสังคมที่ไม่มีใครกล้าพูดออกมา บ่อยครั้งงานศิลปะเหล่านี้ ถูกนำไปใช้ในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมเพื่อให้ผู้ชมได้สัมผัสกับความเป็นจริงในสังคม

ศิลปะความเห็นต่างนี้ หากเรียกได้ว่าเป็น Resistance Art (ศิลปะแห่งการต่อต้าน) ก็ไม่ผิด มันคือศิลปะที่ทำหน้าที่ต่อต้านความรุนแรง การแบ่งแยกชั้นชน หรือเกิดจากการดิ้นรนของคนตัวเล็กตัวน้อยที่ถูกกดทับจากระบบโครงสร้างของสังคม มักปรากฏอยู่ในศิลปะหลายแขนง เช่น ภาพวาด กราฟิตี้ บทเพลง ป้ายประท้วง ในปัจจุบันศิลปะแห่งความเห็นต่างนี้อาจครอบคลุมไปถึง ‘มีม’ ที่ผู้คนยุคนี้ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่เจ็บแสบและเกรี้ยวกราดตามยุคสมัย จนกลายเป็นกระแสและสร้างแรงกระเพื่อมให้แก่สังคมอยู่ไม่น้อย

ย้อนไปเมื่อปี 1968 ที่เมืองเมมฟิส (Memphis) รัฐเทนเนสซี (Tennessee) ของสหรัฐอเมริกา เกิดการประท้วงต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวของคนดำ จากเหตุการณ์ประกาศหยุดงานพนักงานทำความสะอาดผิวสี


“I AM A MAN”
(ฉันคือมนุษย์เหมือนกัน)

ถ้อยคำสั้นๆ ที่เรียบง่ายแต่กลับทรงพลัง ได้สื่อสารออกไปเพื่อเรียกร้องสิทธิความเป็นมนุษย์ของพวกเขาให้ได้รับความเท่าเทียมจากสังคม และสะท้อนถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างผิวดำที่มีมาอย่างยาวนานในสหรัฐอเมริกา

ภาพการประท้วงหยุดงานของพนักงานทำความสะอาดผิวดำ เมืองเมมฟิส ในปี 1968, โดยช่างภาพ เอิร์นเนสต์ ซี. วิทเธอร์ : https://butdoesitfloat.com/I-Am-a-Man

เหตุการณ์ในครั้งนั้น นับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ ปี 1968 ที่ทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงความเท่าเทียมจากกดถูกกดขี่ของคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา


ภาพสีน้ำมันและอีนาเมลบนผ้าใบ © Glenn Ligon| Photograph by Ronald Amstutz : https://butdoesitfloat.com/I-Am-a-Man
ภาพบรรยากาศของการชุมนุม เมืองเมมฟิส ในปี 1968 : https://butdoesitfloat.com/I-Am-a-Man

หากมองกลับมายังปัจจุบัน ถึงแม้ปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้น และไม่รู้ว่าเมื่อใดจะจบสิ้นลง แต่ศิลปะจากป้ายประท้วงก็ยังคงทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของสังคมเสมอมา

Specters of Modernism ผลงานของ Jeremy Deller , Elizabeth Price : https://spectresofmodernism.wordpress.com/tag/wimps/

“Children need sunlight to grow”
(เด็ก ๆ ต้องการแสงแดดในการเติบโต)


หนึ่งในชิ้นงานศิลปะบนป้ายผ้าใบหลากหลายสีสันในปี 2017 ที่ติดตั้งอยู่ตลอดแนวระเบียงของแฟลตชุมชนในโครงการที่พักอาศัย Bowater House เพื่อต่อต้านโครงการก่อสร้างที่พักอาศัย The Denizen สุดหรูหรา ป้ายโฆษณาสำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่ประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ในย่าน Bowater ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทัศนียภาพของผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้น

โดยนักรณรงค์ได้กล่าวว่า เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติและสร้างเสร็จ จะทำให้ผู้คนในย่านสูญเสียการเข้าถึงแสงแดดไปกว่า 70 % ซึ่งส่วนมากเป็นบริเวณชุมชน และสถานรับเลี้ยงเด็ก

ภาพ Emma Matthews : https://spectresofmodernism.wordpress.com/tag/wimps/
ภาพ Emma Matthews : https://spectresofmodernism.wordpress.com/tag/wimps/

สุดท้ายการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการอนุมัติสร้างโครงการพักอาศัย The Denizen ก็ได้ถูกปิดโครงการไปด้วยแรงขับเคลื่อนของศิลปิน คนในชุมชนและป้ายประท้วงที่มีตัวอักษรเพียงไม่กี่คำ นี่จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งจากอำนาจของข้อความและศิลปะ งานกราฟิกดีไซน์ง่าย ๆ ที่ถูกใช้เพื่อกระตุ้นให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ต้องลงแรงอะไรมากนัก

เรื่องของศิลปะการเห็นต่างในโลกยุคปัจจุบัน อาจไม่ได้มีเพียงแค่ศิลปินเท่านั้น ที่เป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์และผลงานศิลปะไว้แต่ทว่าศิลปะได้เข้าไปซึมซับอยู่กับชีวิตประจำของผู้คน


ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ก็สามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้ เพื่อสื่อสาร – แสดงเจตนา ผ่านวิธีการต่าง ๆ ได้อย่างไร้ข้อจำกัด

ถึงตรงนี้แล้ว ความหมายที่ซ่อนอยู่ในงานศิลปะของความเห็นต่าง อาจไม่สำคัญเท่ากับความขบถในการลุกขึ้นสู้ของมนุษย์คนหนึ่ง กับอาวุธที่พวกเขาใช้สร้างสรรค์ผลงาน อย่างพู่กัน สีน้ำ ผ้าใบ หรือกระดาษเพียงไม่กี่แผ่น แต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างมหาศาลและถึงแม้สิ่งที่พวกเขาสร้างสรรค์ออกมา อาจไม่ได้สร้างแรงกระเพื่อม หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นวงกว้าง แต่อย่างน้อยที่สุดมันก็ช่วยสะท้อนความจริงบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมได้เช่นกัน




อ้างอิง
I Am a Man! – Wikipedia
I Am a Man! – but does it float
wimps – Spectres of Modernism (wordpress.com)
Developers are using culture as a Trojan horse in their planning battles | Housing | The Guardian



other story

ศิลปะ การเมือง และความสุขสำเร็จรูป

งานศิลปะแบบ Satire ที่พี่แมว เลือกมาให้แบรนด์ One More Thing ทอผ้าของพี่แมว แบรนด์ One More Thing เลือกที่จะทอให้ ผิวสัมผัส มีความกรอบ เหมือนถุงพลาสติกสีรุ้งตามสำเพ็งให้มากที่สุด แต่ก็ยังคงใส่โครงสร้างลายทอ ที่ให้ความรู้สึกหรูหรา ด้วยด้ายรีไซเคิล เพื่อเสริมความย้อนแย้ง ตามแบบฉบับของพี่แมว

Explore

#EATLIKEANDY

ซุปกึ่งสำเร็จรูปที่รู้จักกันทั่วโลก บริโภคง่ายสบายปากแถมอิ่มท้อง กับการรีวิวทุกรสชาติที่ขายในไทย โดย The Continuum Team น้อยคนที่จะไม่รู้จักกับ "Campbells Soup"

Explore

Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping