เปลี่ยนกงเต๊ก เป็นเท็กซ์ไทล์ โดย เต้ ปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ

by The Continuum Team

ศิลปินที่อุตริทำเสื้อคลุมกากเพชรสุดแวววับให้ไก่ต้มใส่ หรือเอาเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาขึ้นเป็นประติมากรรมเสมือนงานปั้นลอยตัว ผู้ซึ่งเรียกตัวเองว่า Hybrid Designer เพราะการผสมผสานงานระหว่าง Material และ Technique จนเกิดเป็นผลงานในรูปแบบ Textile Product

นั่งคุยกันในบ้านสไตล์ญี่ปุ่นและเจ้าเหมียวสุดน่ารัก ที่เต็มไปด้วย Material กองพะเนินเทินทึก จากผลงานที่เคยทำมาตลอดการเป็นศิลปินผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ กับ เต้  ปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ ผู้ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของชิ้นงาน และต้นทุนของผลงานแต่ละชิ้น คือ “เวลา”

‘เท็กซ์ไทล์’ ไม่มีข้อจำกัด

…หลายคนให้คำจำกัดความคำว่า Textile (เท็กซ์ไทล์) ว่า “สิ่งทอ” ซึ่งเต้ไม่ได้มองแบบนั้น…

หลังจากการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทำให้แนวคิดที่เคยคิดเหมือนคนอื่น ก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพราะคำว่า เท็กซ์ไทล์ ไม่ได้หมายถึงการทำเสื้อผ้าเพียงอย่างเดียว  จริง ๆ แล้ว มันสามารถฉีกแนว และออกนอกกรอบการทำงานเท็กซ์ไทล์ไปได้หลายทางมาก ไม่อยากให้จำกัดมันอยู่แค่นี้

จากคนที่เคยฝึกงานกับแบรนด์ผ้า แต่ละวันออกแบบลายผ้านับไม่ถ้วน เกิดจากการทดลองเอานู่น เอานี่มาเล่นกับการคิดลายผ้า คนก็เริ่มเห็นงานที่ทำมากขึ้น จนงานเริ่มกระแทกตาใครหลาย ๆ คน ซึ่งความรู้สึกตอนนั้นมันดีมาก มีคนติดต่อมาเรื่อย ๆ เราก็เริ่มรับงานที่เกี่ยวกับเท็กซ์ไทล์อยู่เรื่อยจนมาทำเต็มตัว

*********************

สารจากคนตาย สู่คนเป็น

วิกฤตการณ์ที่ทำให้โลกต้องชะงักอย่าง Covid -19 ถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก แต่ที่ไม่น้อยหน้าไปกว่านั้น คือ วิกฤตการณ์ PM 2.5 ที่ทำเอาคนต้องแห่ซื้อหน้ากากกันฝุ่นกันในราคาที่พุ่งกระฉูด มิหนำซ้ำยังขาดตลาดซะอีก นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เต้ศึกษาเกี่ยวกับต้นตอของมลภาวะนี้ นั่นคือ

การเผา

นั่งสัมภาษณ์บนเก้าอี้วินเทจที่ข้างหลังเต็มไปด้วยภูเขาหนังสือและผลงานสุดพิลึกที่เคยทำไว้ เต้เล่าย้อนกลับไปในช่วงที่ไปเที่ยวไต้หวัน  ซึ่งตรงกับเทศกาลเกี่ยวกับการไหว้เจ้าพอดี การไหว้เจ้าไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับบ้านเรา แต่ที่ไต้หวันเขาไหว้กันอย่างจริงจัง หมอกควันธูป กลิ่นควันเทียนเต็มไปทั่วศาลเจ้า แอปพลิเคชั่นตรวจจับมลพิษทางอากาศขึ้นเตือนตัวสีแดง ซึ่งเกินลิมิตไปมากกว่าคำว่าอากาศเป็นพิษ สิ่งเหล่านี้ที่เต้พบเจอ ทำให้จุดประเด็นนึกพิเรนศึกษาว่า…

Burning “Ghost money” paper on Chinese New Year February 7, 2016

? เพราะอะไร ทำไมเขาต้องจุดธูปและเผากระดาษกงเต๊กด้วยวะ ?

ถ้ามองแบบตลก คงเคยเห็นในภาพยนต์ที่พระเอกนางเอกช่วยกันจุดไฟเพื่อส่งสัญญาณควัน สื่อออกมาเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ SOS จากเครื่องบินที่แล่นผ่านไปผ่านมา

เช่นเดียวกันกับการเผากระดาษกงเต๊กหรือจุดธูปเพื่อไหว้อะไรสักอย่าง หรือนั่นจะหมายถึงการส่งสารหรือสื่อสาร ระหว่างคนเป็นและคนตาย และตัวแปรสำคัญของเรื่องราวนี้ คือ การเผา

อ้างอิงจากประเทศแผ่นดินใหญ่อย่างประเทศจีน มีวัฒนธรรมการไหว้เจ้าหรือไหว้บรรพบุรุษยาวนานกว่า 1,000 ปีแล้ว วัฒนธรรมนี้ฝังรากลึกลงไป จนทำให้กฎหมายที่มีอยู่หรือการรณรงค์เกี่ยวกับมลภาวะมันขัดแย้งกัน มันไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย สุดท้ายแล้วคนก็ยังอนุรักษ์ส่วนนี้กันอยู่ แต่มันก็ยังไปไม่สุดอยู่ดี มันหายไปได้ช่วงหนึ่ง แต่พอถึงช่วงเทศกาล คนก็กลับมาไหว้กันไม่จบสิ้น

“คนเป็น” ส่งสารไปหา คนตาย” ด้
แล้วทำไมคนตายถึงส่งสารกลับมาหาคนเป็นไม่ได้

คำถามที่น่าฉุกคิดที่ระหว่างนั่งสัมภาษณ์

ตัดภาพกลับมาที่เมืองไทย คอนเซ็ปต์งานที่เต้นำมาคิดต่อ จากปัญหาที่เกิดขึ้นจากมลภาวะเอามาทำอะไรได้บ้าง ด้วยความที่เต้เป็นนักคิดและกล้าที่จะเล่น เต้ขนเอาขี้เถ้าที่ได้จากการเผากระดาษกงเต๊กที่ไต้หวัน อัดใส่พิมพ์เป็นตัวอักษร สื่อถึงคำที่คนตายจะสามารถสื่อสารกลับมาสู่คนเป็น ผ่านการเผากระดาษกงเต๊ก

เต้แก้ปัญหาเรื่องการเผากระดาษกงเต๊กที่สร้างมลพิษทางอากาศ ด้วยการไม่เผาซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำงานออกมาเป็นเซรามิค ที่ไม่ต้องเผาซ้ำแล้ว เพราะเซรามิคผ่านการเผามาแล้ว สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อย ๆ และนี่คือแนวทางการแก้ปัญหาที่นำเสนอผ่านงานศิลปะ

เปลี่ยนกงเต๊ก — เป็นเท็กซ์ไทล์

ผ้าทอลายกระดาษกงเต๊ก และกระดาษเงินกระดาษทอง ที่ออกแบบมาเฉพาะเฉพาะแบรนด์ผ้าทอ One More Thing ก่อนที่จะนำไปทอ ด้วยประสบการณ์ในการทอผ้ามากกว่า 40 ปี ได้ลายผ้าแบบใหม่ที่มาพร้อมกับควันและกลิ่นอายของการไหว้เจ้า โดย เต้ ปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ

จากแนวคิดที่จะทำยังไง โดยที่เราไม่ต้องเผากระดาษแล้ว ง่าย ๆ คือ เอามาทำให้เป็น Product ที่ใช้ได้เรื่อย ๆ คือผ้าทอสุดละเอียดยิบ ดีเทลผ้าทอละเอียดครบทุกตารางนิ้ว โดยเส้นใยรีไซเคิลโพลิเอสเตอร์ ที่ช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย

One More Thing ออกแบบสินค้าที่ล้อเลียนคอนเซ็ปต์การไหว้เจ้า เช่น หมอนรองเข่าสำหรับไหว้เจ้า ตะกร้าใส่ผ้าที่ได้แรงบันดาลใจมาจากถังเผากระดาษ และกระเป๋าสำหรับใส่ล้อลากเพื่อจ่ายตลาด ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

เรื่องเล่าผ่านคอนเซ็ปต์

งานแต่ละชิ้น ถ้าไม่มีเรื่องราวมันก็อาจไม่น่าสนใจ ลงมือทำไปมันก็เสียเวลาเปล่า ถ้าพูดถึงเรื่องการทำงาน เต้มองว่าการเล่าเรื่องให้คนฟัง มันก็คือ คอนเซ็ปต์งาน ซึ่งถ้าคอนเซ็ปต์งานมันมาแล้ว เรื่องราวที่เราอยากเล่า หรือแม้กระทั้งเทคนิคการทำงานนั้น มันจะตามมาเองแบบหยุดไม่อยู่

“ถ้าในมุมมองของเท็กซ์ไทล์ ขอแค่มันพาดกัน ขัดกันคนละทาง อะไรก็ได้สักอย่าง
แค่นี้มันก็เรียกว่า Textile แล้วนะ”

เต้กล่าวทิ้งท้าย

ไม่มีอะไรตายตัวเสมอไป เส้นใยผ้าที่ทอขัดกัน แนวตั้ง แนวทะแยง จนออกมาเป็นผ้าผืนที่นำมาตัดชุด หรือแม้กระทั่งการเอาเข็มกลัดมากลัดต่อกัน การเอาเชือกมาสานเข้าไปในซี่หวี ตะเกียบมาขัดกันเป็นชิ้นงานศิลปะที่มาจากของใกล้ตัว ทุเรียนที่เอาเรซิ่นมาหุ้มหนามแหลมเอาไว้ ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เรียกว่า เท็กซ์ไทล์ ทั้งนั้น ถ้าเราหลุดออกจากคำว่า เท็กซ์ไทล์คือเสื้อผ้า โลกของคำว่างานฝีมือ จะเปิดกว้างและพบเจอกับสิ่งใหม่ ๆ ได้เสมอ




other story

Trompe-l’œil ศิลปะแห่งการเลียนแบบความจริงด้วยการลวงตา

เทคนิคสุดพิลึกที่ใช้แสงและเงาในการสร้างสรรค์ผลงานเสมือนจริง บนผ้าใบ ผนังกำแพง รวมไปฝาผนังสถานที่ต่าง ๆ หรือนี่คือมิติลี้ลับแห่งวงการศิลปะ !?

Explore

เมื่อศาสตร์โบราณอย่าง “ไพ่ทาโร่” ต้องพึ่งเทคโนโลยียุคใหม่กับโลกที่มองไปทางไหนก็ต้องพึ่ง “ดวง”

เมื่อศาสตร์โบราณอย่าง “ไพ่ทาโร่” ต้องพึ่งเทคโนโลยียุคใหม่กับโลกที่มองไปทางไหนก็ต้องพึ่ง “ดวง” และบทสัมภาษณ์หมอดูยุคมิลเลเนียล 2 ท่าน คนหนึ่งเริ่มจากการไม่เชื่อ แต่อีกคนเชื่อมาก ๆ คนหลายเป็นหมอดูซะเอง

Explore

Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping