C.A.P STUDIO
ที่มาของ C.A.P studio (Chiang Mai art on paper) เริ่มต้นจากการศึกษาปริญญาโทที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็น studio ในลักษณะของการ collaborate เรียกว่า custom print กับศิลปินอื่นๆ ในมีเดียที่ต่างกันออกไป และอยากจะมาทํา งานภาพพิมพ์ โดยเราใช้ skill ของเราคอยช่วยเหลือ จนผลงานนั้นถูกสร้างขึ้น จึงเอาไอเดียนี้กลับมาก่อตั้ง C.A.P studio จนถึงทุกวันนี้
เราตั้งใจจะทำที่เชียงใหม่ เพราะว่าเชียงใหม่คือบ้านของเรา เราก็ผูกพันธ์กับที่นี่ไปแล้ว และก็คงไม่เดินทางไปที่ไหนแล้วหล่ะ!
ตอนปี 2003 เราเริ่มก่อนตั้ง C.A.P studio จากที่เรามีแท่นพิมพ์อยู่แท่นเดียว สามารถพิมพ์งานในไซส์ที่ค่อนข้างใหญ่ เราก็เลยคิดกระบวนการที่เราจะสามารถจะใช้แท่นพิมพ์นี้ ผลิตงานอื่นได้ด้วย แต่จริงๆ แล้วการทำภาพพิมพ์ พอมันเปลี่ยน Media หรือเปลี่ยนกระบวนการ เช่น silk screen, lithograph ก็ต้องใช้แท่นพิมพ์ที่มีลักษณะต่างกันออกไปอยู่ดี และด้วยความที่หลงใหลงานประเภทนี้ เราก็เลยทำงานทุกรูปแบบเลย
จนมาตอนนี้ C.A.P studio ตัดสินใจเลือกทำงานภาพพิมพ์ที่ใช้โลหะในการทำเป็นหลัก และในแต่ละเดือนเราก็จะมีช่วงของการทำงานลักษณะคล้ายๆ กับ Lab test เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะได้ผลลัพธ์ในการพิมพ์ที่แตกต่างไปจากดั้งเดิม เราเรียกว่า Alternative Printmaking คือ การผสมผสานเทคนิคต่างๆ เข้าไปในงาน แต่เราเน้นย้ำว่าQuality ของผลงานจะต้องปรากฏออกมาในลักษณะที่เป็น fine art เป็นการกระทำด้วยมือทั้งหมด
“ศิลปิน” ผู้สร้างงาน “ศิลปิน”
C.A.P Studio ประกอบไปด้วยทีมงาน 4 คน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่จบมาแล้ว ทุกวันนี้เขาก็เป็นศิลปิน (young artistry ) ที่กำลังทำงานผลงานตัวเองแล้วก็แสดงที่ต่างๆ รวมผมด้วยจะเป็น 5 คน
ผมก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Conductor คอยควบคุมการทำงานในสตูดิโอทั้งหมด หน้าที่ของเรา คือ เชิญหรือทาบทามและมองหาศิลปินที่เรารู้สึกประทับใจกับผลงานของเขา เพื่อเชิญมาร่วม collaborate รวมถึงคอยดูเรื่องกระบวนการ วางแผนงาน ทำการบ้านกันในทีม ว่าผลงานของศิลปินคนนี้ จะมีกระบวนการอย่างไร Layer จะต้องถอดแบบไหน งานจะเป็นแนวไหน ก็จะมานั่งรวมกลุ่มกัน ปรึกษากันจนลงตัว
เราทั้ง 5 คน จะกระจายงานว่าใครถนัดที่ทำในเทคนิคแบบไหน ศิลปินก็จะมานั่งบนโต๊ะประชุมเพื่อคุยกัน เราก็จะ Guideline ศิลปินเข้าไปทีละสเตป และทั้ง 4 คนสลับกันประกบกับศิลปิน เพื่อที่ทุกคนในทีมจะได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับศิลปิน การเข้าหาคน การพูดคุยการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ
18 ปี ไม่ใช่เรื่องขี้หมู ขี้หมา
จากจุดเริ่มต้น จนมาทำงานเป็นทีมก็จะมีปัญหาในเรื่องของการแบ่งการทำงานที่ยังไม่ลงตัว และตอนนี้ C.A.P Studio เดินทางมาถึงปีที่ 18 แล้ว ผมคิดว่ามันก็เริ่มเข้ามือกันแล้ว ทุกคนจะเข้าใจระบบ เช้าตื่นมาสิ่งแรกที่ทำกันคือทำความสะอาดสตูดิโอทั้งหมด แล้วก็เริ่ม Set up อุปกรณ์ หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการพิมพ์ พอพิมพ์เสร็จตกเย็นมาต้องเผื่อเวลาไว้เก็บอุปกรณ์ทั้งหมด เก็บกวาดสตูดิโอ แล้วถึงแยกย้ายกันกลับ เช้ามาก็จะทำแบบเดิม เป็น Loop อย่างนี้อยู่เรื่อยๆ
จริงๆ แล้วการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น มันทำให้ลด EGO ความเป็นศิลปินลงไป ทุกคนเข้าใจว่าจะต้อง switch ให้ได้ ว่า ณ เวลาที่เราเป็น Master printer เราก็ต้องทำหน้าที่เป็นช่างพิมพ์ ในขณะที่เราสร้างสรรค์งานตัวเอง เราก็ใส่ความเป็นตัวเองลงไปอย่างเต็มที่
“ถ้าเรายังต้องทำงานร่วมกับคนอื่น เราจะต้องปรับลด EGO ของเรา เพื่อที่จะร่วมงานกับคนอื่นได้ ผมคิดว่าที่จริงแล้ว การทำภาพพิมพ์…มันมีการจัดวางระบบได้มากกว่าสาขาอื่นๆ คล้ายๆ กับเซรามิกหรือว่าประติมากรรมนั่นแหละ”
เสน่ห์ไม่ตายตัว
“เรามองว่างานภาพพิมพ์มันเป็น Analog ทั้งในกระบวนการสร้างสรรค์และในกระบวนการลงมือทำแต่ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็มีบทบาทกับกระบวนการสร้างสรรค์แบบ Analogได้เช่นกัน แต่ส่วนตัวเป็นคนหลงใหลความเป็น Analog มากกว่า แค่นั้นเอง”
เสน่ห์ของความเป็น Analog ก็เหมือนคนที่เล่นกล้องฟิล์ม หลงใหลในกระบวนการของมัน เสน่ห์มันจะไม่เหมือนกับกล้อง Digital แน่นอน ของพวกนี้จะไม่สามารถ Repeat ได้ด้วยกระบวนการอื่นๆ แม้จะได้ด้วยการสแกนและปริ้นท์ออกมา แต่เชื่อได้ว่าผิวสัมผัสหน้างานจริงๆ ไม่มีทางเหมือนกันแน่นอน
ส่วนการนำเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในกระบวนการภาพพิมพ์ ผมเห็นว่าหลายคนได้ Adapt ใช้กันมาบ้างแล้ว เช่น ใช้เลเซอร์ในการสร้างเพลท หรือการใช้ Digital Print ลงไปสร้างบรรยากาศของงานก่อน แล้วใช้กระบวนการ Analog พิมพ์ทับลงไปอีกทีก็มี
“ถ้าเรามองมันเป็นแค่เครื่องมือ เราจะเข้าใจว่าเมื่อไหร่ที่เราจะใช้เทคโนโลยีนี้ และเมื่อไหร่ที่เราจะใช้ของ Analog หรือแม้กระทั่งนำทั้ง 2 อย่างมาผสมกัน จนเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา เพราะว่าสุดท้ายแล้ว อนาคตหรือเทคโนโลยีนี่แหละ เกิดมาจากรูปแบบ Analog ที่ถูกพัฒนาไปให้มันง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น”
แม้แต่เทคโนโลยี ก็สร้างไม่ได้!
เรารู้สึกว่าเสน่ห์ของภาพพิมพ์ คือ ความที่มันมี Error เล็กๆ น้อยๆ อยู่บนชิ้นงาน จะสื่อถึงความเป็นชีวิต ใช้ความเป็นมนุษย์ในการสร้าง แม้กระทั่งการใช้ Digital Print เรารู้สึกว่ามันคมไปซะทุกอย่าง มันไม่ใช่เสน่ห์ที่เรามองหา
เราก็มองหาอยู่เรื่อยๆ นะ จริงๆ เทคโนโลยีที่อยากได้เข้ามาช่วยในการทำงาน เราอยากได้เลเซอร์ที่จะฉลุบนเพลทหรือเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างร่องรอยลงบนแม่พิมพ์ หรือว่า Water Jet อะไรอย่างประมาณนี้
– ส่วนตัวเป็นคนสนใจในคุณลักษณะของพระเครื่อง เรามองหาเสน่ห์ของการสร้างพระเครื่อง ร่องรอยบนโมลด์ที่มีอยู่ ผมคิดว่าเป็นลักษณะที่น่าประทับในที่ยังหลงเหลืออยู่เหมือนงานภาพพิมพ์ –
ศิลปินหลายๆ คนที่เคยเข้ามาในสตูดิโอแล้วโชว์ Sketch ที่เป็น Digital Print ให้เราดูแล้วบอกว่า อยากจะทำงานภาพพิมพ์โลหะให้ออกมาเป็นแบบนี้
ผมบอกว่ามันไม่ตอบโจทย์เพราะสุดท้ายแล้วเครื่องมือที่คุณใช้คือ Digital คุณสามารถเลือกสีได้หลายล้านเฉดสีบนหน้าจอ RGB ซึ่งพอแปลงมาเป็น CMYK หรือเป็นหมึกแล้ว เฉดสีมันไม่ได้ตามที่ต้องการ เพราะฉะนั้นเครื่องมือที่คุณใช้ (Digital) มันตอบโจทย์ที่คุณต้องการแต่แรกแล้ว การใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การทำภาพพิมพ์ ผมคิดว่ามันได้ในระดับหนึ่ง ถ้ามันไปมากกว่านั้น ผมคิดว่าเราไปเครื่องมืออื่นกันดีกว่า เครื่องมือนี้มันมีเสน่ห์ของมันอยู่แล้ว ซึ่งควรจะรักษามันเอาไว้ ผมรู้สึกว่ามันควร Preserve
งานมันมีทั้งเก่าและใหม่ ใครหลงใหลหรือหลงรักในยุคไหน…คนนั้นก็อยู่แบบนั้น บางคนชอบใส่กางเกงขาบาน บางคนชอบแต่งตัวเป็นฮิปปี้อยู่ บางคนยังไว้ผมหน้าม้าอยู่แม้อายุผ่านไป 30-40 ปี เพราะเขาหลงใหลในสิ่งนั้น เพื่อนผมฟังเพลงยุค 90’s อยู่ทุกวันนี้ ผมก็รู้สึกว่าเขาหยุดตัวเองเขาหลงใหลอยู่ในยุคนั้น เขาไม่ได้มาถึงยุคนี้แล้ว
ผมรู้สึกว่ามันเป็นสเน่ห์ของแต่ละช่วง GEN ที่เขาอยู่ ผลงานหรือการสร้างสรรค์งานศิลปะมันก็แบ่งช่วงยุคของมันเพื่อให้เรามีประสปการณ์ร่วมย้อนกลับไปหาในช่วงเวลานั้นๆ ด้วยเหมือนกัน
เข้าใจ แต่ทำไม่ได้
“มีเยอะครับ มีตลอด ประเภทที่คิดว่าเราไม่อยากทำงานให้เขา เราพยายามอธิบายให้ฟังว่ากระบวนการภาพพิมพ์ที่เราทำอยู่มันไม่ได้ตอบโจทย์สิ่งนี้ คุณจะไม่ได้แบบที่คุณต้องการ”
ศิลปินบางคนเดินเข้ามาแล้วบอกว่าฉันอยากได้งานแบบนี้โดยใช้เทคนิค Etching เราก็พยายามอธิบายให้ฟังว่า การทำภาพพิมพ์ของเรา ไม่ได้ตอบโจทย์สิ่งที่คุณต้องการ ถ้าแบบนี้มันมีเทคนิคที่รองรับอยู่ เช่น Lithograph หรือSilkscreen ซึ่งมันไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ ทุกกระบวนการมันทำได้ แต่ Outcome ไม่เหมือนกันแน่ๆ
ถ้าเราเลือกถูกกระบวนการ Outcome ที่ออกมามันจะ Impact อย่างเช่น จะทำ Etching ให้ขอบคม สีเรียบเหมือน Silkscreen ผมคิดว่าเลือกเทคนิคที่ไม่ถูกต้อง
สุดท้ายศิลปินก็เข้าใจว่า จริงๆ แล้วมันไม่ถูกต้อง บางคนก็คิดว่าเราปฎิเสธแบบกลายๆ โกรธบ้างก็มี เราก็ต้องหาเทคนิคกระบวนการที่ตอบโจทย์งานของเขา ยื่นเครื่องมือให้แล้วเขาใช้มันได้อย่างสนุก สร้างสรรค์มันได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่อ้อมไปอ้อมมา
The Legend Master Printer
ท้าวความย้อนกลับไปก่อนว่า…ตอนที่ก่อตั้ง C.A.P Studio ใหม่ๆ ตอนนั้นผมอยากจะเอา Model ของการ Custom print เข้ามาใช้ในเมืองไทย แต่พูดง่ายๆ ว่าเริ่มจากไม่รู้อะไรเลย รู้แค่โครงสร้างคร่าวๆ ว่าเราเอา Skill ของเรา เข้าไปช่วยศิลปินทำงานให้ผลงานภาพพิมพ์ได้มีความหลากหลายมากขึ้น
ก็เลยทำ Research ว่าศิลปินคนไหนดีที่เราอยากจะชวนมาทำงานและพร้อมที่จะใช้ Skill ที่เรามีร่วมงานกับเขา และประจวบเหมาะกับได้เห็นว่า อาจารย์คามิน เคยเป็น Master Printer อยู่ที่ New York ก็เลยชักชวน อาจารย์มา collaborate สร้างสรรค์ผลงานพิมพ์ โดยที่เราไม่ต้องอธิบายอะไรมาก
เราแค่เชิญอาจารย์ แกก็รู้แล้วว่าเรากำลังจะทำอะไร ก็ไปเชิญและก็จริงอย่างที่คิด แม้ว่าจะเป็นชุดผลงานที่ผ่านพ้นอุปสรรคมาได้ยากมาก เราใช้เวลา 6 เดือนครึ่ง วันละประมาณ 12 ชั่วโมงเต็มในการเริ่มงาน แล้วก็ได้ผลงานมาถือไว้ เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ C.A.P Studio ได้ย้ายมาอยู่ที่นิมมานจนถึงทุกวันนี้
“ด้วยความที่อาจารย์คามินเป็นอาจารย์ที่สอนผมตอนเรียน ผมก็เลยรู้สึกว่าแกไม่ได้เป็นศิลปินรุ่นใหญ่อะไร แต่แกเป็นอาจารย์ที่เราเคารพ”
แต่ในขณะเดียวกันผมรู้สึกว่าการทำงานภาพพิมพ์ของ C.A.P Studio คือการ Collaborate กับศิลปิน เราจะคุยงานกันก่อนตั้งแต่เริ่มต้น ผมไม่รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องน่ากลัว แต่คิดว่าเป็นเรื่องท้าทายมากกว่าที่จะทำให้ผลงานนั้นออกมาดีกว่าที่เขาคิดไว้ได้ยังไง มันเลยเป็นเรื่องสนุกสำหรับผม
ตรงเหมือนไม้บรรทัด?
ในสมัยผมยังเป็นอาจารย์อยู่ในมหาวิทยาลัย บางทีตอนกลางคืนก็แอบเข้าไปดูว่าเด็กทำงานอะไรกัน บางทีก็เข้าไปแนะนำ พอผมเข้าไปหน้าปากทางเข้าประตู ผมจะได้ยินเสียงแล้ว “อาจารย์ก้องมาแล้ว” เราจะเห็นเหมือนระเบิดลง หายไปไหนกันหมดไม่รู้ และทุกคนก็กลัวผมเหมือนกัน วงแตกกันไปเลย 555555
ถ้าเป็น Personal จะเป็นคนตลกโปกฮา ไม่ค่อยถือตัวและก็เล่นกับลูกศิษย์ด้วยซ้ำ บางคนก็แหย่เล่นแซวเล่น จิกกัดว่ากันไปมาก็มีเหมือนกัน
จริงๆ แล้วในบทบาทของการทำงานผมเป็นคนตรงไปตรงมา บางครั้งผมใช้กติกานั่งโต๊ะเรียกประชุม คือถ้ามีเรื่องอะไรที่รู้สึกว่ามันผิดวิสัย ผมจะเรียกทุกคนเข้าประชุม ไม่ว่าใครทะเลาะกับใคร ใครไม่พอใจอะไรกับใคร ทั้ง 5 คนต้องนั่งแล้วให้ที่เหลือเป็นกรรมการ คุยกันว่าเหตุผลคืออะไร ทำไมมันเกิดอะไรขึ้นและก็หา Solution ที่ดีกับทุกคน และทุกคนต้องยอมรับว่าพอจบจากนี้โต๊ะแล้ว จะไม่มี Bias ต่อกัน ผมก็รู้สึกว่าตรงนี้มันทำให้ C.A.P Studio เดินหน้ามาได้ถึง 18 ปี และอยู่ร่วมกันมา 5 คนอยู่ตลอดเวลา
อะเมซิ่ง เยโล่เพจเจ๊ส (Yellow pages)
“ปัจจัยทางธรรมชาติส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยทางการตลาดมีผลต่อการทำงานของเราเหมือนกันนะ เช่น เมื่อก่อนเราใช้สมุดหน้าเหลืองในการเช็ดเพลท ถ้าคนเรียนภาพพิมพ์มาก็จะเข้าใจว่า Etching ที่ประหยัดที่สุดก็คือสมุดหน้าเหลืองเล่มใหญ่ๆ นี่แหละ แต่เมื่อวันที่เขาไม่ผลิตแล้วเราก็ขาดทรัพยากรตรงนี้ไป”
ทุกวันนี้สมุดหน้าเหลืองไม่มีแล้ว โลกเปลี่ยนไป เราก็ถึงขั้น Track หาข้อมูลว่ากระดาษชนิดที่เอามาพิมพ์สมุดหน้าเหลืองหาซื้อได้ที่ไหนบ้าง ? สรุปสุดท้ายคือไม่ได้ เพราะว่าเป็นกระดาษที่ใช้นำเข้ามาจากต่างประเทศ จริงๆ เราใช้กระดาษจากสมุดหน้าเหลือง ใช้เยอะมาก และตอนนี้ก็หากระดาษแบบนี้ไม่ได้เลย สุดท้ายแล้วเราก็ต้องเบนเข็มไปใช้อย่างอื่นแทน คือใช้กระดาษว่าว กระดาษที่มีความบาง และมีความเป็นไข
อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ มีผลกับการทำงานของ C.A.P Studio มาก แต่เรื่องของปัจจัยทางธรรมชาติไม่ค่อยมีผลเท่าไร เพราะภาพพิมพ์เป็นกระบวนการการทำงานในที่ร่มหรือในพื้นที่ปิด พอเราอยู่ในอาคารอยู่ในพื้นที่ปิดทำงานมันก็ราบรื่น
แต่หลักๆ เลยตอนนี้ที่เจออุปสรรคที่สุดก็คือ Covid 19 เพราะว่าหลายสตูดิโอภาพพิมพ์ในต่างชาติ เราก็ได้ยินมาว่าเริ่มปิดตัวลงแล้วเพราะว่าทำงานไม่ได้ เนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันหลายๆ คน
C.A.P Studio กับ Sustainability
“เรื่องของ Eco ในเรื่องของการทำงาน ผมว่ามันทำได้แค่บางอย่าง เราลด เราควบคุมได้บางอย่าง แต่เราก็ไม่สามารถจะควบคุมได้ทุกอย่าง”
กระบวนการภาพพิมพ์พยายามคิดขั้นตอนของการใช้หมึกพิมพ์ด้วยน้ำมันถั่วเหลืองออกมา แต่ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมเนื่องด้วยคุณภาพของการพิมพ์ที่ออกมา มันก็ยังไม่ตอบโจทย์ แต่หากว่าตอบโจทย์ เราก็พร้อมที่จะเปลี่ยนทุกอย่างอยู่แล้ว
สตูดิโอของเราใช้กระดาษ และพยายามที่จะใช้ของ Recycle ให้ได้มากที่สุด เช่น ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เพื่อใช้ในการ Proof งาน ทุกสัดส่วนของการทำงาน เราพยายามใช้กระดาษมารีไซเคิลทั้งหมด พยายามที่สุดเท่าที่จะทำได้
Q : หวังว่าจะทำเป็น Recycle แบบ 0 เปอร์เซนต์เลยไหม?!
A : ในแง่ของกระบวนการภาพพิมพ์เป็นไปได้ยาก ผมคิดว่าการพิมพ์ด้วยมือ ยังไงก็ไม่ได้ถึงขนาดทำลายโลกขนาดนั้น ในสังคมปัจจุบัน โดยรวม C.A.P Studio เป็นยังไงบ้าง
“ C.A.P studio มีระบบของสปอนเซอร์ในการทำงาน พวกเขาคือ Supporter ที่จ่ายเป็นยอดเงินให้เราทุกๆ ปี แล้วเราเอาเงินก้อนนั้นมา Generate ในการทำงาน แล้วก็เชิญศิลปินมาร่วมงาน ผมเรียกว่าระบบสปอนเซอร์ เพราะว่า ผมจะล็อคไว้แค่ 10 คนต่อปี และทุกๆ ปลายปีเราจะนำ 1 Print ของทั้ง 10 ท่าน โดยผลงานที่สร้างสรรค์กับศิลปินทั้งปี นํามารวม portfolio ส่งให้กับทั้ง 10 ท่าน ในปลายปี ”
เพราะฉะนั้นต่อปีเราต้องทำให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่เขาให้เรามา มันคุ้มที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่หลักๆ มี 5 คนอยู่ในทีมอยู่แล้ว ซึ่งทุกคนรวมถึงผมแล้วนั้นเป็นศิลปิน แล้วเราก็จะเชิญศิลปินน้อยใหญ่มาด้วย มีทั้งต่างชาติและศิลปินในไทย ผมเรียกเขาว่าเป็นศิลปิน เพราะเขาเป็น Creative เป็นสถาปนิก เป็นช่างภาพ ที่สนใจที่จะทำ แล้ว Aesthetic ของเขาเหมาะที่จะทำงานภาพพิมพ์
Limited Edition
หลุยส์วิตตองก็มี Edition นะ ทำไมหลุยส์วิตตองถึงมี Value ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของคนสนใจ
Edition ของภาพพิมพ์ในลักษณะของ Authentic มันยังมีกติกาของการคุม Limited Edition อยู่ เพราะว่ามันเป็น Hand Produce ดั้งเดิม แล้วก็ด้วยกระบวนการกาผลิต ทำให้ทำ Edition เป็น Mass ไม่ได้
Value ของงานภาพพิมพ์ มันทํา ให้เกิดนักสะสมรุ่นเล็ก เนื่องจาก value ของงานภาพพิมพ์นั้น Reasonable แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ Value ของของพวกนี้ก็จะกระเถิบขึ้นเอง ผมคิดว่ามันมีเงื่อนไขของ Demand – Supply อยู่
แต่มันอาจจะไม่ได้อยู่ที่งานที่ผลิตด้วยมือล้วนๆ อย่างเดียว แต่มันขึ้นอยู่กับศิลปิน / เทคนิคกระบวนการ / Marketing หรือเรื่องของการวาง strategy ทั้งหมดเอาไว้ว่า…จะให้มันเป็นอย่างไร?
ทั้ง 4 องค์ประกอบมันรวมกันปุ๊บ! ประกอบด้วย Demand และ Supply มันก็เกิดเป็น Value ที่แตกต่างกัน
Turning point
Q : ทำไมถึงชอบภาพพิมพ์?
A : ตอนเรียนปริญญาตรีอยู่ปี 2 เลยย้ายสาขามาเป็นภาพพิมพ์ หลังจากนั้นมาก็เรียนภาพพิมพ์มาตลอดจนจบปริญญาโท แล้วก็หมกมุ่นอยู่กับภาพพิมพ์ จนสร้างสตูดิโอของตัวเองขึ้นมา
ย้อนกลับไปในช่วงตอนที่เรียนอยู่ปี 1 นักศึกษาทุกคนจะได้รับการ Introduce ในสาขาอื่นๆ อย่างเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สมัยนั้นภาพพิมพ์คืออะไรไม่รู้จัก พอได้เรียนก็เริ่มรู้สึกว่า…
“นี่แหละใช่เลย! มันเป็นเรื่องของเคมี เป็นเรื่องของเทคนิคกระบวนการบวกกับการสร้างสรรค์ บวกกับความคิด บวกบวกกันหลายๆ อย่าง และมันตื่นเต้นและมันมีการลุ้น”
มันมีคำคำหนึ่งที่ผมชอบมากในกระบวนการภาพพิมพ์ เขาเรียกว่า Happy Accident ซึ่งปกติ Accident มันเป็นคำที่มีความหมายในเชิงลบ ครั้งแรกที่ผมได้ยินคำนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่าแปลว่าอะไร ?
Happy Accident คือ Effect ที่เราไม่ได้คาดคิดที่เกิดขึ้นบนงานของเรา ซึ่งมันเป็นงานที่ออกมาเกินความคาดหมายที่เราวางไว้ในทางที่ดี ซึ่งนั่นเปรียบได้เหมือนเราถูกหวยเลยก็ว่าได้ ซึ่งนั่นทำให้เรากลับมามองว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เราพลาดตรงไหน ผิดกระบวนการอย่างไร แล้วเราก็พยายามควบคุมมัน จนเกิดเป็นเทคนิคใหม่ขึ้นมาอีกเทคนิคหนึ่ง และต่อยอดไปเรื่อยๆ
ความรู้สึกแรกของ Happy Accident คือ?
– ตั้งแต่เรียนมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยประสบการณ์มากว่า 20 ปีแล้ว ผมเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ผมมองโลกในแง่บวกมากขึ้น เมื่อมันเกิด Accident แล้ว เราอย่ายึดติดอยู่กับรูปแบบของงานเดิมที่เราวางแผนไว้ เราก็ปรับเปลี่ยนและแก้ไขให้มันกลายเป็นงานชิ้นใหม่ที่อาจจะดีกว่าเดิม –
วางแผนไว้ว่าเป็นแบบนี้ แต่ถ้าผลงานไม่เป็นอย่างที่เราคิด เราก็ต้องแก้ปัญหา แต่เป็นการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาเพื่อจะเอากลับไปให้เป็นเหมือนเดิมตามที่เราตั้งเป้าไว้ ในขณะเดียวกัน…ผมรู้สึกว่า ถ้าเราสร้างสรรค์เป็น เราเจอปัญหา เราก็บิดปัญหานั้นให้กลายเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ เกิดผลลัพธ์ใหม่ขึ้นมาได้
ทุกวันนี้ก็เลยใช้วิธีนี้ แล้วก็สอนทีมงานให้คิดวิธีนี้เหมือนกัน รวมไปถึงแนะนำศิลปินต่างๆ ที่เข้ามาว่า…บางครั้งถ้ามันไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราวางแผนไว้ เราก็บิดมันเลยได้
Value ที่วนกลับมาของ Alternative Print หรือ Analog
“ผมมองว่าการกลับมาให้ Value ของงาน Alternative Print มันเหมือนกับวงการแฟชั่นนะ แต่ก่อนศิลปินที่ไม่เข้าใจงานพิมพ์ ก็เริ่มกลับมาใช้เทคนิคนี้กันเป็นเรื่องปกติ ผมรู้สึกว่าแฟชั่นก็เหมือนกัน ขากระดิ่ง ขาม้า กางเกงยีนส์ขาด เดี่ยวมันก็ไป แล้วก็กลับมาในที่สุด”
ถ้าย้อนกลับไปถึงประวัติศาสตร์ภาพพิมพ์…ภาพพิมพ์โลหะ เริ่มต้นมาจากความต้องการใส่ตราสัญลักษณ์ของนักรบในแต่ละเมืองลงไปบน Armmer เขาก็ใช้วิธีการลอกลายแบบ Etching ไปลอกลายลงบน Armer ตัวอื่นเพื่อเพิ่มจำนวนสัญลักษณ์
หลังจากนั้นเทคนิคนิคนี้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ ถูกหยิบมาใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อเผยแพร่ เริ่มเอามาใช้ทำเป็นหนังสือ หลังจากนั้นก็ถูกพัฒนามาเป็น Lithograph และก็ถูกพัฒนามาเป็นเครื่องจักรเพื่อพิมพ์หนังสือพิมพ์ พิมพ์โปสเตอร์ต่างๆ หลังจากถูกพัฒนามาเป็นระบบ Offset printing (การพิมพ์ลูกกลิ้งคู่) และมนุษย์ก็พยายามคิดกลไกให้มันง่ายขึ้นเป็น Digital print, Epson, Canon ออกมา แล้วก็ถูกพัฒนาไปเรื่อยๆ
ณ ปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าการผลิตหนังสือก็เป็นเรื่องน่าห่วง เพราะไม่คุ้มกับการผลิตแล้ว หลายๆ โรงพิมพ์ก็ปิดตัวลง เพราะว่าการทำหนังสือเล่มหนึ่ง ใช้ Cost ไม่ใช่น้อย แต่ออนไลน์ Cost เร็วกว่า ง่ายกว่า และ Attack คนได้มากกว่า เพราะทุกคนเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์กันหมดแล้ว
C.A.P Studio is “Antique”
– เมื่อ 2 – 3 ปีที่แล้ว ผมเคยคุยกับเพื่อนผมว่า วันข้างหน้า…ทุกอย่างมันจะ กลาย ไปเป็น Digital –
ตอนนี้ NFT เริ่มมีบทบาทกับงานศิลปะมากขึ้น และชัดเจนมาก ใน NFT มีข่าวเรื่องการประมูล Auction ใน Christie’s ครั้งแรก แล้วมันก็เป็นกระแสดังเป็นพลุแตก ทุกอย่างมันจะพัฒนาไปข้างหน้า มันไม่มีพัฒนาย้อนกลับ
ผมย้อนกลับมาคิดว่า…ในเมื่อมันพัฒนาไปข้างหน้า แล้วอย่างนี้ที่เราทำกันอยู่ Painting, Sculpture หรือภาพพิมพ์ เราจะเรียกว่าอะไร ถ้า Art เปลี่ยนไปเป็น Digital ทั้งหมด!?
– ผมก็เรียกว่า“Antique” ซึ่งผมมองว่ามันก็แค่คำเรียกที่เปลี่ยนไป แต่สุดท้ายแล้ว Antique มันก็เป็นได้ทุกอย่าง เป็นงานภาพพิมพ์ก็ได้ เป็น Painting ก็ได้ และมันจะเป็นตัวบอกกาลเวลาว่ามันผ่านเวลามานานมากแค่ไหน –
ผมรู้สึกว่า…ของพวกนี้ ยิ่งนานวันยิ่งหายากขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าคนที่ยังมีใจที่จะทำภาพพิมพ์อย่างต่อเนื่อง น้อยลงไปเรื่อยๆ พอถึงช่วยอายุหนึ่ง เขาทำไม่ไหว ผมพยายาม Set ระบบที่มันจะส่งผ่านต่อไป Generation ต่อไปได้ โดยใช้ C.A.P Studio เป็นตัวยืน
ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า Generation ต่อๆ ไปจะรับสิ่งนี้กันต่อได้หรือเปล่า เพราะมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้ Passion ในการทำเยอะมากและก็ทำงานหนักทำงาน เหนื่อย
ความคาดหวังในอนาคตของสตูดิโอ
ปัจจุบันจนถึงอนาคตจริงๆ เป็นความคาดหวังเดียวเลย ตั้งแต่ที่เริ่มทำ Studio มา เราเริ่มต้นด้วยความรัก ความหลงใหลในกระบวนการภาพพิมพ์ แล้วเป้าหมายข้อเดียวเลยคือ
ความคาดหวังอันดับแรกๆ ที่อยากให้เป็นจริงก็คือ…อยากเห็นเชียงใหม่เป็นจุดศูนย์รวมของงานภาพพิมพ์ในเมืองไทย ซึ่งจริงๆ แล้วก็มี Studio ทั้งส่วนตัวแล้วก็เป็น Public อยู่ในเชียงใหม่นี่เกือบ 18 สตูดิโอแล้ว และคิดว่าวันข้างหน้ามันน่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ