ART ATLAS ATELIER INTERVIEW

by The Continuum Team

“หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ
ชื่อแบรนด์แม่งอ่านโคตรยากเลย”

แบรนด์ ART ATLAS ATELIER เริ่มจากการคิดว่า เสื้อผ้าแบบไหนที่ตอนนี้ยังไม่มีใครทำ ประกอบกับการหาข้อมูลจากตลาดในปัจจุบัน ก็เจอแต่รูปแบบเสื้อผ้าที่ค่อนข้างตามเทรนด์ ไม่ว่าจะแนว Street, Minimal มองไปทางไหน Pattern มันก็เดิม ๆ

ผมเลยลองหยิบเอางานศิลปะในประวัติศาสตร์ที่ชอบ มาลงบนเสื้อผ้า จริง ๆ มันมีคนทำแล้วแหละ แต่ส่วนมากจะเป็นแค่การ Repeat ลายซ้ำ ๆ ลงไปซึ่งส่วนตัวเรามองว่ามันค่อนข้างน่าเบื่อ

แล้วจะทำยังไงให้มันแตกต่าง!? ผมจึงใช้วิธีการ Collage งานศิลปะหลาย ๆ แขนงรวมกัน ทั้ง Painting,  Graphic, Cartoon แทนการ Repeat ภาพเดียวกันซ้ำ ๆ

“Art” แน่นอน คำแรกสุด เพราะแก่นของการทำงานนี้คือ “งานศิลปะ”

“Atlas” คำถัดมา “แผนที่โลก” เพราะเราหยิบเอางานศิลปะจากที่มีอยู่ทั่วโลกมาใช้

“Atelier” อ้างอิงจากตัวเองที่เป็นคนทำงานที่บ้าน เพราะบ้านเปรียบเสมือน ”ห้องศิลปะ” ห้องหนึ่ง

เมื่อนำทั้ง 3 คำมารวมกัน ก็จะได้ชื่อแบรนด์ที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งลายผ้าและชื่อแบรนด์

“Art Atlas Atelier”

เอาความชอบประวัติศาสตร์ศิลป์ มาทำธุรกิจเสื้อผ้า

ผมชอบนะ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ ชอบมากจนศึกษาตั้งแต่ศิลปะยุคถ้ำ พัฒนาและต่อยอดมาเรื่อย ๆ ไม่ได้เรียนแบบจริงจัง พอลงมือทำแบรนด์จริง ก็เริ่มรู้แล้วว่าวิวัฒนาการของงานศิลป์แต่ละแขนง มันเป็นแบบนี้ มีที่มาที่ไปเป็นแบบนี้

รูปที่เอามาใช้ทำลายผ้าส่วนใหญ่ ผมเริ่มจากงานที่เราชอบ ถ้าไม่ชอบก็ไม่เอามาทำ เริ่มจากการเอารูปจากศิลปะยุคเก่าชนกับยุคเก่าแล้วดูความเป็นไปได้ หรือลองเอาศิลปะยุคเก่ามาชนกับยุคใหม่ ถ้าพอใจแล้วก็เติมลายที่เราวาดลงไป เชื่อมและผสมผสานกันลงบนเสื้อผ้า เพื่อไม่ให้งานที่ทำออกมาเป็น Old Painting ขนาดนั้น แต่ต้องความร่วมสมัยผสมอยู่ด้วย

จากแต่ก่อน ตอนทำงานเป็นช่างภาพ มีเสื้อผ้าบางตัวก็ใช้ลายจากรูปที่ตัวเองถ่ายเหมือนกัน ต่อลาย ชนลาย แล้วลงขายก็เคยทำนะ แต่ก็ไม่ได้อยากเอามาใช้ขนาดนั้น เพราะเราก็ไม่ได้มีชื่อเสียงมากมาย ที่ทำก็เพราะอยากทำ

งานช่างภาพน้อยลง เงินที่ได้มาก็น้อยลง

ผมรู้สึกว่า โลก online เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก หลาย ๆ สื่อหรืองานหลายอย่าง ถูกลดบทบาทลงจากเดิม พูดง่าย ๆ ก็คือ ทุกคนไม่ว่าใครก็ตามสามารถผลิตสื่อด้วยตนเองได้ โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่งคนที่มีความสามารถเฉพาะทางด้านนั้นจริง ๆ

ด้วยสไตล์งานถ่ายภาพของผม จะมีวิธีคิดอย่างหนึ่งที่เหมือนกันทุกครั้งคือ อยากถ่ายอะไรที่เราไม่เคยเห็น คนอื่นอาจจะมองว่า มึงถ่ายอะไรมา ไม่เห็นน่าสนใจเลย แต่ถ้า Zoom Detail แล้ว มันจะมีรายละเอียดของภาพ สี หรือ พื้นผิว ต่าง ๆ ซ่อนไว้เสมอ

ภาพถ่ายที่เราถ่ายมาแต่ละรูป อาจจะไม่ได้สวยเท่าคนอื่น หรือตามรูปแบบที่คนส่วนใหญ่มองว่า สวย ดูแฟชั่น แต่ผมก็โอเคนะ ไม่ได้สนใจอะไร เราชอบของเราแบบนี้

“มันต้องใช้ฝีมือซิวะ”

จากการที่ทำงานช่างภาพน้อยลง ประกอบกับผมเองก็อยากทำเสื้อผ้า แต่ต้องทำเป็นแบบที่ไม่ใช่ใครหรือที่ทำได้โดยง่าย นั่นแหละ! เลยมาเริ่มทำเสื้อผ้าจริงจัง

ครั้งแรกของการทำธุรกิจออนไลน์แบบจริงจัง

ผมไม่เคยลองขายใน Platform อื่นเลย ผมคิดว่าตัวเองไม่ได้มีความสามารถในการ PR หรือการขายมาก่อน เรารู้แค่ว่าทำยังไงให้สินค้าออกมาได้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ไม่รู้เลยว่าจะขายยังไง

ประจวบเหมาะกับ The Continuum ติดต่อเข้ามาพอดีกับช่วงที่ผมทำสินค้าเสร็จเป็นรูปเป็นร่างแบบสด ๆ ร้อน ๆ ข้อดีที่ผมมองเห็นจากแบรนด์ฟอร์มนี้ คือเป็น Platform ที่มี Option ให้แบรนด์ได้เลือก มีการลงทุนทำ Production เล่าเรื่องของแบรนด์ โดยผ่านกระบวนการคิด มี Concept มี Theme ซึ่งตัวแบรนด์เองคงไม่ได้เล่าอย่างนี้แน่ ๆ

Minimal กับผม…แม่งโคตรห่างไกลกันเลย

แบรนด์เราจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ซิลูเอทเสื้อและลายที่เรามี ถ้าเต็ม 100% ตอนนี้เรามีลาย 80% มีซิลูเอทเสื้อ 20% เราจะเพิ่มและลดปริมาณให้มันสมดุลย์กันมากกว่านี้ แต่คงไม่ใช่ 80% เป็นซิลูเอทเสื้อแน่นอน เพราะผมยังสนุกกับสร้างลายผ้าอยู่

เสื้อผ้า Art Atlas Atelier มีโครงสร้างของเสื้อผ้าน้อยมาก ก็คือทรงเชิ้ตธรรมดา แต่เน้นตรงที่ลายละเอียดของลายผ้า เพราะไม่มีโรงงานไหนหรือเครื่องจักรไหนทำได้ แต่เราทำได้

— พอผมเริ่มยิ่งทำก็ยิ่งเยอะ ประสบการณ์เรามากขึ้น Material ต่าง ๆ เรามากขึ้น มีอาวุธหลายอย่างมากขึ้น สามารถเอาสิ่งที่มีมาผสมกันได้ สนุกกับการทำมากขึ้น ไม่คิดว่ามันจะเข้ากันได้ เหมือนผมมีเงินเยอะขึ้น ผมก็สามารถใช้เงินได้สนุกมากขึ้น —

ด้วยความที่เรามีลายเยอะมาก การตั้งชื่อยากจะยิ่งทำให้จำยากกันเข้าไปใหญ่ ตัวผมเองยังจำไม่ได้เลย ไม่รู้จะตั้งชื่อเสื้อผ้าที่ทำออกมาของตัวเองมาว่าอะไรให้มันวุ่นวาย “ห้วงเวลาแห่งความสุขสันต์” งี้หรอ? มันดูเสียเวลา ก็เลยเอาเป็น No. แล้วกัน ง่ายดี ทั้งหมดที่มีตอนนี้ ก็ 76 ลาย ยังไม่รวมกับที่เราทำแล้วไม่ชอบเลยไม่ได้เอามานับอีก

ทำให้มันง่ายกว่านี้ไม่ได้หรือวะ !?

แต่ก่อนทำลายผ้าเองไม่ได้เลย เพราะความรู้เรื่องโปรแกรม Illustrate เป็นแค่ขั้นพื้นฐานมาก วาดได้แค่วงกลม สี่เหลี่ยม เบสิคสุด ๆ จากนั้นก็ค่อย ๆ เริ่มเรียนรู้ไป จนมารวมกันลายศิลปะที่รวมเข้ากัน และไม่น่าจะมีที่ไหนเหมือนกับเรา

เราเป็นคนทำงานละเอียด ละเอียดถึงขั้นเช็คว่าแต่ละเส้นด้ายมันต้องเป็นสีอะไร ลายต้องอยู่ตรงไหน คิดและวาง Pattern ทั้งหมด ถ้าตัวไหนทำออกมาแล้วเส้นด้ายไม่ตรงกับตำแหน่งที่วางไว้ ก็รื้อใหม่หมดเช่นกัน เพราะผมคิดว่า ระยะเวลาที่ใช้ไปกับการทำแต่ละลายนานมาก จะให้ปล่อยออกมาแบบมั่ว ๆ ไม่ได้ เพราะแต่ละลายใช้เวลาทำไม่ต่ำกว่า 3 เดือน

ตอนนี้มันก็เหนื่อย เพราะตอนนี้ก็ทำคนเดียว แต่ผมคิดว่า ยังไงก็ต้องลองทำซิ เพราะยังไม่เคยมีใครทำอะไรแบบนี้ คือ สวย – รอด – ปลอดภัย ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าคือยังไง แต่ถ้าไม่สวยแล้วรอด และไม่ปลอดภัย อันนี้มันแม่งโคตรน่าเสี่ยงเลย *หัวเราะ

ถ้าคุณทำดีคุณก็จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าคุณทำไม่ดีก็เตรียมเจ็บตัวไว้ได้เลย  ถึงอย่างน้อยเจ็บตัวก็ได้ประสบการณ์

บางคนอาจจะมองว่า เยอะไป มากไป แต่สวยไม่สวยคือเรื่องหนึ่ง แต่ทำแล้วมันแปลกใหม่หรือเปล่านั่นเป็นประเด็นหลักในการทำของผม

— Art Atlas Atelier




other story

MAYA WONG INTERVIEW

Maya Wong แบรนด์เสื้อผ้าแหวกแนวที่เล่าเรื่องราวผ่านความรู้สึก ความชอบและการใช้ชีวิต รวมถึงการแสดงจุดยืนทางสังคมผ่านตัวแบรนด์และตัวเอง

Explore

ADI INTERVIEW

ADI คือ วัยรุ่นในแต่ละยุคสมัย ผู้รักและชื่นชอบใน Fashion จนทำแบรนด์เสื้อผ้าที่ไม่สวยงามตามพิมพ์นิยม แต่แฝงไปด้วยเรื่องราวที่น่าค้นหา

Explore

Shopping cart0
There are no products in the cart!
Continue shopping